คู่มือวิศวกรรมฐานราก (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)
คู่มือวิศวกรรมฐานราก (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)
- คงเหลือ : 1
- ประเภท : อีบุ๊ก
- สำนักพิมพ์ : SE-ED
- Author : ดร. พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล
- ISBN :9786160840052
- ภาษา : thai
- จำนวนหน้า : 878
- ขนาดไฟล์ : 49.74 MB
คู่มือวิศวกรรมฐานราก
การปรับปรุงเนื้อหาครั้งนี้เพื่อให้หนังสือมีความทันสมัยมากขึ้น ในยุคที่ความรู้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย เหมาะสำหรับวิศวกรโยธานำไปใช้ประกอบวิชาชีพทั้งงานออกแบบและงานก่อสร้าง
ผู้เขียน ดร. พัลลภ วิสุทธิ์เมธานุกูล
"คู่มือวิศวกรรมฐานราก" เล่มนี้ เขียนขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ใช้แทนตำราต่างประเทศได้โดยจัดพิมพ์ครั้งแรกเมื่อต้นปี พ.ศ. 2558 ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากวิศวกร อาจารย์ นักศึกษา และผู้ที่สนใจทั้งในประเทศและในแถบ AEC การปรับปรุงเนื้อหาครั้งนี้เพื่อให้หนังสือมีความทันสมัยมากขึ้น ในยุคที่ความรู้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
โดยหลัก ๆ แล้วผู้เขียนได้เพิ่มเนื้อหาเรื่อาเรื่องการทดสอบ CPT การวิเคราะห์การไหลแบบ 2 มิติด้วยวิธีผลต่างสืบเนื่อง (FDM) การวิเคราะห์เสาเข็มรับแรงด้านข้างด้วย FDM การสร้างเส้นโค้ง p-y และการหาสติฟเนสสปริงของเสาเข็มรับแรงด้านข้าง การทดสอบเสาเข็มด้วย O-cell หลักการของฐานรากพรมบนเสาเข็ม (Piled Raft) การขุดดินด้วยกำแพงสติฟเนสสูง การขุดดินด้วย Floating System การอัดตัวคายน้ำด้วยสุญญากาศ (Vacuum Consolidation) การดันท่อ (Pipe Jacking) การพิจารณาสติฟเนสของอาคารในการประเมินความเสียหายจากการทรุดตัวของดิน การหาพารามิเตอร์ของแบบจำลอง Mohr-Coulomb และแบบจำลอง Hardening Soil และตัวอย่างการวิเคราะห์โดยวิธีไฟในต์เอลิเมนต์ (FEM) ด้วยโปรแกรม PLAXIS 2D สำหรับปัญหาการอัดตัวคายน้ำการไหลของน้ำในดิน Kern Boundary การกระจายหน่วยแรงลงไปในดิน การขุดดินลึกด้วยค้ำยันหลายระดับเสถียรภาพของลาดดิน และการวิเคราะห์แรงในดาดอุโมงค์
หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับวิศวกรโยธาที่จะนำไปใช้ประกอบวิชาชีพทั้งงานออกแบบและงานก่อสร้าง หรือนำไปใช้ในการเรียนการสอนระดับอุดมศึกษา นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เตรียมตัวสอบเป็นภาคีวิศวกรโยธาหรือเลื่อนระดับเป็นสามัญวิศวกรโยธา รวมถึงผู้ที่ต้องการยกระดับวิชาชีพของตนเองสู่สากลด้วย
สารบัญ
บทที่ 1 คุณสมบัติทางธรณีเทคนิคของดิน
บทที่ 2 การสำรวจชั้นดินภาคสนาม
บทที่ 3 น้ำใต้ดิน
บทที่ 4 ฐานรากตื้น
บทที่ 5 ฐานรากยึด ฐานรากร่วม และฐานรากพรม
บทที่ 6 ฐานรากเสาเข็ม
บทที่ 7 ความดันด้านข้างของดินและกำแพงกันดิน
บทที่ 8 กำแพงเข็มพืด
บทที่ 9 งานขุดดินใช้ค้ำยันหลายระดับ
บทที่ 10 เสถียรภาพของลาดดิน
ฯลฯ
คู่มือวิศวกรรมฐานราก (ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม)
คำนำ 3
สัญลักษณ์ 7
การแปลงหน่วย 18
บทที่ 1 คุณสมบัติทางธรณีเทคนิคของดิน 27
บทที่ 2 การสำรวจชั้นดินภาคสนาม 115
บทที่ 3 น้ำใต้ดิน 153
บทที่ 4 ฐานรากตื้น 183
บทที่ 5 ฐานรากยึด ฐานรากร่วม และฐานรากพรม 241
บทที่ 6 ฐานรากเสาเข็ม 265
บทที่ 7 ความดันข้างของดินและกำแพงกันดิน 365
บทที่ 8 กำแพงเข็มพืด. 431
บทที่ 9 งานขุดดินใช้ค้ำยันหลายระดับ 467
บทที่ 10 เสถียรภาพของลาดดิน 513
บทที่ 11 การปรับปรุงคุณภาพดิน 551
บทที่ 12 ธรณีเทคนิคเพื่อสิ่งแวดล้อม. 599
บทที่ 13 การก่อสร้างอุโมงค์. 645
บทที่ 14 การประเมินความเสียหาย. 689
ภาคผนวก 717
บรรณานุกรม 761
ดรรชนี 777
คำนำ 3
สัญลักษณ์ 7
การแปลงหน่วย 18
บทที่ 1 คุณสมบัติทางธรณีเทคนิคของดิน 27
บทที่ 2 การสำรวจชั้นดินภาคสนาม 115
บทที่ 3 น้ำใต้ดิน 153
บทที่ 4 ฐานรากตื้น 183
บทที่ 5 ฐานรากยึด ฐานรากร่วม และฐานรากพรม 241
บทที่ 6 ฐานรากเสาเข็ม 265
บทที่ 7 ความดันข้างของดินและกำแพงกันดิน 365
บทที่ 8 กำแพงเข็มพืด. 431
บทที่ 9 งานขุดดินใช้ค้ำยันหลายระดับ 467
บทที่ 10 เสถียรภาพของลาดดิน 513
บทที่ 11 การปรับปรุงคุณภาพดิน 551
บทที่ 12 ธรณีเทคนิคเพื่อสิ่งแวดล้อม. 599
บทที่ 13 การก่อสร้างอุโมงค์. 645
บทที่ 14 การประเมินความเสียหาย. 689
ภาคผนวก 717
บรรณานุกรม 761
ดรรชนี 777